กฏหมายออฟฟิศและสำนักงาน
ตามกฏกระทรวงพระราชบัญญัตแล้ว ชนิดสิ่งปลูกสร้างจะอนุญาตขึ้นอยู่กับพื้นที่สี ว่าเป็นที่สีอะไร ซึ่งเป็นประโยชน์มากๆสำหรับการจัดสรรค์ที่ดีที่อยู่อาศัย โดยทางราชการจะคำนึงถึงประชากรเป็นหลัก เช่น พื้นที่สีนี้อนุญาตให้ปลูกสร้างบ้านได้ ไม่อนุญาตให้ปลูกสร้างโรงงาน คลังสินค้า เพราะการจราจร หรือ การผลิตต่างๆจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของประชากร หรือ พื้นที่สีนี้ อนุญาตให้ทำการเกษตร และอนุญาตให้ทำสำนักงาน เนื่องจาก จะส่งผลให้ทำการค้าขายผลผลิตและการเพาะปลูกได้ โดยเพื่อให้เห็นภาพกว้างๆ จะมีการแบ่งสีดังนี้
- เขตพื้นที่สีเหลือง ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
- เขตพื้นที่สีส้ม ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
- เขตพื้นที่สีน้ำตาล ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
- เขตพื้นที่สีแดง ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม
- เขตพื้นที่สีม่วง ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
- เขตพื้นที่สีชมพู ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ
- เขตพื้นที่สีเขียวขาว ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม
- เขตพื้นที่สีเขียว ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
- เขตพื้นที่สีน้ำเงิน ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ออฟฟิศ & สำนักงาน สร้างบนพื้นที่สีอะไรได้บ้าง ?
เราจะมา focus ที่พื้นที่สีอะไร ที่อนุญาตให้ทำการปลูกสร้างสำนักงานและ ออฟฟิศได้ โดยเกณฑ์ใหญ่ๆในการพิจารณา สิ่งปลูกส้รางประเภทออฟฟิศ สำนักงาน เช่น จำนวนพนักงาน จำนวนรถ จำนวนที่จอดรถ จำนวนห้องน้ำภายใน และขนาดถนนต่างๆ ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกันทั้งหมด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการใช้พื้นที่ร่วมกันกับข้างเคียงได้ ยกตัวอย่างเช่น เรามาสร้างออฟฟิศของเราที่มีพนักงานของเราอยู่ที่ 200 คน ในพื้นที่ซอยแคบ เมื่อถึงเวลาเปิดใช้งานจริง การจราจรของพนักงานของเรา จะส่งผลต่อเพื่อนบ้านทันที ทำให้รถติดหนักขึ้น ปัญหาต่างๆเหล่านี้ จึงกลับเป็นเกณฑ์ในการออกข้อกฎหมายสำหรับการออกแบบและก่อสร้างออฟฟิศและสำนักงานทั้งสิ้น โดยจะแบ่งเป็นพื้นที่สีต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.เขตพื้นที่สีเหลือง
พื้นที่สีเหลือง ย.๑- ย.๔ หรือ เขตพื้นที่อยู่อาศัยความหนาแน่นน้อย เขตพื้นที่นี้เป็นเขตที่สนับสนุนให้พัฒนา อาคารสงเคราะห์/รับเลี้ยงสัตว์, สถานศึกษาต่ำกว่าระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา, สถานพยาบาล, สถานสงเคราะห์/รับเลี้ยงเด็ก, สถานสงเคราะห์/รับเลี้ยงคนชรา, สถานสงเคราะห์/รับเลี้ยงผู้พิการ และยังสามารถสร้าง ที่อยู่อาศัย , อาคารพาณิชยกรรม , สำนักงาน, โรงแรม และ ตลาดได้อีกด้วย
ข้อกำหนดการสร้างสำนักงานในพื้นที่สีเหลือง
1.) สำนักงานที่มีขนาด > 100 ; <= 300 ตรม.
ย.1 ไม่สามารถสร้างได้
ย.2 สร้างได้แต่มีเงื่อนไข คือ ตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะที่มีเขตทางไม่น้อยกว่า 16 เมตร
ย.3 และ ย.4 อนุญาตให้สร้างได้
2.) สำนักงานที่มีขนาด > 300 ; <= 500 ตรม.
ย.1 ไม่สามารถสร้างได้
ย.2 ไม่สามารถสร้างได้
ย.3 สร้างได้แต่มีเงื่อนไข คือ ตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะที่มีเขตทางไม่น้อยกว่า 16 เมตร และ ตั้งอยู่ภายในระยะ 500 เมตร จากบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าฯ
ย.4 สร้างได้แต่มีเงื่อนไข คือ ตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะที่มีเขตทางไม่น้อยกว่า 12 เมตร และ ตั้งอยู่ภายในระยะ 500 เมตร จากบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าฯ
3.) สำนักงานที่มีขนาด > 500 ; <= 1,000 ตรม.
ย.1 ไม่สามารถสร้างได้
ย.2 ไม่สามารถสร้างได้
ย.3 ไม่สามารถสร้างได้
ย.4 สร้างได้แต่มีเงื่อนไข คือ ตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะที่มีเขตทางไม่น้อยกว่า 16 เมตร และ ตั้งอยู่ภายในระยะ 500 เมตร จากบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าฯ
2.เขตพื้นที่สีส้ม
เขตพื้นที่สีส้มนี้ จะขยับตามความหนาแน่นของชุมชนขึ้นมาเป็นระดับปานกลาง ที่ดินตามโฉนดจะเป็น ย.๕ – ย.๗ โดยสามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างได้ เหมือนกับสีเหลืองทุกประการ จะแตกต่างเพียงเล็กน้อย คือไม่สามารถสร้างสถานสงเคราะห์เลี้ยงสัตว์ได้ (เสียงจากสัตว์จะรบกวนชุมชน) แต่จะต่างกันที่ระดับความหนาแน่นของประชากรในเบื้องต้น หากใครจะซื้อที่ดินประเภทนี้ ต้องทราบเรื่องความหนาแน่น หรือลองขับรถไปดูที่จริงก็จะดีที่สุดนะครับ
ข้อกำหนดการสร้างสำนักงานในพื้นที่สีส้ม
1.) สำนักงานที่มีขนาด > 100 ; <= 300 ตรม.
ย.5 อนุญาตให้สร้างได้
ย.6 อนุญาตให้สร้างได้
ย.7 อนุญาตให้สร้างได้
2.) สำนักงานที่มีขนาด > 300 ; <= 500 ตรม.
ย.5 สร้างได้แต่มีเงื่อนไข คือ ตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะที่มีเขตทางไม่น้อยกว่า 12 เมตร และ ตั้งอยู่ภายในระยะ 500 เมตร จากบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าฯ
ย.6 อนุญาตให้สร้างได้
ย.7 อนุญาตให้สร้างได้
3.) สำนักงานที่มีขนาด > 500 ; <= 1,000 ตรม.
ย.5 สร้างได้แต่มีเงื่อนไข คือ ตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะที่มีเขตทางไม่น้อยกว่า 12 เมตร และ ตั้งอยู่ภายในระยะ 500 เมตร จากบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าฯ
ย.6 อนุญาตให้สร้างได้
ย.7 อนุญาตให้สร้างได้
3.เขตพื้นที่สีน้ำตาล
เขตพื้นที่สีน้ำตาล เป็นเขตพื้นที่อยู่อาศัยความหนาแน่นมาก ที่ตามโฉนด คือ ย.๘-ย.๑๐ เป็นพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย อนุญาตให้นำพื้นที่ใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ ไม่เกิน 10% ของพื้นที่ เช่นการตั้งโรงงาน หรือ สถานประกอบการ เป็นต้น
พื้นที่โซนนี้จะเหมาะสำหรับการก่อสร้าง บ้านพักอาศัย ทาวน์เฮ้าส์ อาคารชุด ต่างๆ
ข้อกำหนดการสร้างสำนักงานในพื้นที่สีน้ำตาล
1.) สำนักงานที่มีขนาด > 100 ; <= 300 ตรม.
ย.8 อนุญาตให้สร้างได้
ย.9 อนุญาตให้สร้างได้
ย.10 อนุญาตให้สร้างได้
2.) สำนักงานที่มีขนาด > 300 ; <= 500 ตรม.
ย.8 อนุญาตให้สร้างได้
ย.9 อนุญาตให้สร้างได้
ย.10 อนุญาตให้สร้างได้
3.) สำนักงานที่มีขนาด > 500 ; <= 1,000 ตรม.
ย.8 อนุญาตให้สร้างได้
ย.9 อนุญาตให้สร้างได้
ย.10 อนุญาตให้สร้างได้
4.เขตพื้นที่สีแดง
เขตพื้นที่สีนี้ เป็นเขตประเภทพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก สามารถใช้ทำประโยชน์เพื่อ การพาณิชกรรม เพื่อการอยู่อาศัย สถาบันราชการ และ สำหรับการใช้ประโยชน์ประเภทอื่นนั้น ใช้ได้ไม่เกิน 25% ของพื้นที่ทั้งหมด
โดยพื้นที่ประเภทนี้ ห้ามใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามนี้ เช่น โรงงาน (มีข้อยกเว้นตามกฎหมาย) สถานบรรจุเชื้อเพลิง สุสาน การเลี้ยงและทำปศุสัตว์ คลังสินค้า สถานีขนส่ง สถานกำจัดขยะ เป็นต้น
ข้อกำหนดการสร้างสำนักงานในพื้นที่สีแดง
1.) สำนักงานที่มีขนาด > 100 ; <= 300 ตรม.
พ.1 อนุญาตให้สร้างได้
พ.2 อนุญาตให้สร้างได้
พ.3 อนุญาตให้สร้างได้
พ.4 อนุญาตให้สร้างได้
พ.5 อนุญาตให้สร้างได้
2.) สำนักงานที่มีขนาด > 300 ; <= 500 ตรม.
พ.1 อนุญาตให้สร้างได้
พ.2 อนุญาตให้สร้างได้
พ.3 อนุญาตให้สร้างได้
พ.4 อนุญาตให้สร้างได้
พ.5 อนุญาตให้สร้างได้
3.) สำนักงานที่มีขนาด > 500 ; <= 1,000 ตรม.
พ.1 อนุญาตให้สร้างได้
พ.2 อนุญาตให้สร้างได้
พ.3 อนุญาตให้สร้างได้
พ.4 อนุญาตให้สร้างได้
พ.5 อนุญาตให้สร้างได้
5.เขตพื้นที่สีม่วง
เขตพื้นที่สีม่วงนี้ เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า ให้ประโยชน์ส่วนใหญ่ เพื่อการอุตสาหกรรมและเก็บสินค้า คลังสินค้า ใครที่จะสร้างโกดัง โรงงาน นี่คือโซนที่ เราสามารถก่อสร้างได้ทุกกรณีโดยไม่มีข้อแม้ นะครับ เหมาะสำหรับ ภาคธุรกิจที่สุด กรณีใช้ประโยชน์อื่นในพื้นที่ ต้องไม่เกิน 20% ของประเภทที่ดินนี้
และที่ดินนี้มีการสนับสนุนประเภทย่อย ตามข้อแม้บางประการของกฎหมาย คือ การทำสุสาน โรงแรม โรงมหรสพ ที่ดินจัดสรรเพื่ออยู่อาศัย ห้องพัก หรืออาคารชุด เว้นแต่จะเป็นส่วนหนึ่งของโรงงาน สถานรับเลี้ยงเด็ก คนชรา และ สถาบันการศึกษา
ข้อกำหนดการสร้างสำนักงานในพื้นที่สีม่วง
1.) สำนักงานที่มีขนาด > 100 ; <= 300 ตรม.
อ.1 อนุญาตให้สร้างได้
อ.2 อนุญาตให้สร้างได้
2.) สำนักงานที่มีขนาด > 300 ; <= 500 ตรม.
อ.1 อนุญาตให้สร้างได้
อ.2 อนุญาตให้สร้างได้
3.) สำนักงานที่มีขนาด > 500 ; <= 1,000 ตรม.
อ.1 ไม่สามารถสร้างได้
อ.2 ไม่สามารถสร้างได้
6.เขตพื้นที่สีม่วงอ่อน
เขตพื้นที่สีม่วงอ่อนนี้ หรือเขตพื้นที่ อ.๓ จะสนับสนุนให้สร้างคลังสินค้าโดยเฉพาะ การจัดสรรพื้นที่ในเขตสีนี้จะง่ายต่อภาคขนส่งอีกด้วย ใครทำธุรกิจประเภทขนส่ง พื้นที่สีม่วงอ่อนเหมาะกับท่านที่สุดนะครับ
ข้อกำหนดการสร้างสำนักงานในพื้นที่สีม่วงอ่อน
1.) สำนักงานที่มีขนาด > 100 ; <= 300 ตรม.
อ.3 อนุญาตให้สร้างได้
2.) สำนักงานที่มีขนาด > 300 ; <= 500 ตรม.
อ.3 ไม่สามารถสร้างได้
3.) สำนักงานที่มีขนาด > 500 ; <= 1,000 ตรม.
อ.2 ไม่สามารถสร้างได้
7.เขตพื้นที่สีขาวมีกรอบและเส้นทางแยกสีเขียว
เขตพื้นที่สีเขียวลายนี้ หรือเขตพื้นที่ ก.๑-ก.๓ เป็นเขตพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและการเกษตรกรรม การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่นี้นั้นจะใช้เพื่อการเกษตรกรรมหรือที่เกี่ยวข้อง เป็นพื้นที่ที่มีมากที่สุดในประเภทไทยด้วยนะครับ
ข้อกำหนดการสร้างสำนักงานในพื้นที่สีขาวมีกรอบและเส้นทางแยกสีเขียว
1.) สำนักงานที่มีขนาด > 100 ; <= 300 ตรม.
ก.1 ไม่สามารถสร้างได้
ก.2 สร้างได้แต่มีเงื่อนไข คือ ตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะที่มีเขตทางไม่น้อยกว่า 16 เมตร
ก.3 ไม่สามารถสร้างได้
2.) สำนักงานที่มีขนาด > 300 ; <= 500 ตรม.
ก.1 ไม่สามารถสร้างได้
ก.2 ไม่สามารถสร้างได้
ก.3 ไม่สามารถสร้างได้
3.) สำนักงานที่มีขนาด > 500 ; <= 1,000 ตรม.
ก.1 ไม่สามารถสร้างได้
ก.2 ไม่สามารถสร้างได้
ก.3 ไม่สามารถสร้างได้
8.เขตพื้นที่สีเขียว
เขตพื้นที่สีเขียวนี้ เป็นเขตสีพื้นที่เพื่อการชนบทและเกษตรกรรม ให้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรมได้ สามารถสร้างแบ่งแยกที่ดินได้ 100 วา ตามกฎหมายการจัดสรรที่ดินประเภทนี้เพื่อสนับสนุนที่อยู่อาศัย และการธารณูปโภคเป็นหลักอีกด้วย แต่จะไม่สนับสนุนการทำโรงงานเชื้อเพลิง หรือโรงงานน้ำมัน
ข้อกำหนดการสร้างสำนักงานในพื้นที่สีขาวมีกรอบและเส้นทางแยกสีเขียว
1.) สำนักงานที่มีขนาด > 100 ; <= 300 ตรม.
ก.4 สร้างได้แต่มีเงื่อนไข คือ ตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะที่มีเขตทางไม่น้อยกว่า 12 เมตร
ก.5 ไม่สามารถสร้างได้
2.) สำนักงานที่มีขนาด > 300 ; <= 500 ตรม.
ก.4 ไม่สามารถสร้างได้
ก.5 ไม่สามารถสร้างได้
3.) สำนักงานที่มีขนาด > 500 ; <= 1,000 ตรม.
ก.4 ไม่สามารถสร้างได้
ก.5 ไม่สามารถสร้างได้
9.เขตพื้นที่สีน้ำตาลอ่อน
เขตพื้นที่สีน้ำตาลอ่อนที่ดินประเภทอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย ที่ดินประเภทนี้ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม ท้องถิ่น การท่องเที่ยว พาณิชยกรรม การอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ ใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์
ข้อกำหนดการสร้างสำนักงานในพื้นที่สีขาวมีกรอบและเส้นทางแยกสีเขียว
1.) สำนักงานที่มีขนาด > 100 ; <= 300 ตรม.
ศ.1 อนุญาตให้สร้างได้
ศ.2 อนุญาตให้สร้างได้
2.) สำนักงานที่มีขนาด > 300 ; <= 500 ตรม.
ศ.1 อนุญาตให้สร้างได้
ศ.2 อนุญาตให้สร้างได้
3.) สำนักงานที่มีขนาด > 500 ; <= 1,000 ตรม.
ศ.1 อนุญาตให้สร้างได้
ศ.2 อนุญาตให้สร้างได้
วิธีตรวจผังสีด้วยตัวเอง
โดยเราสามารถเข้าไปเช็คจาก web-site ของทางราชการและผังสีได้ https://landsmaps.dol.go.th/ โดยวิธีง่ายๆคือการกดเข้าไปที่ที่ที่เราสนใจ และมองที่มุมขวาบน (ชั้นข้อมูล) กดติ๊กถูกที่ผังเมือง เท่านี้เราก็จะเห็นผังสีที่เราต้องการได้ทันที และหากท่านใดต้องการเห็นภาพรวมของผังสี สามารถเข้ามากดดูได้ ที่นี่
[breadcrumb]