flat slab เป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่รองรับโดยตรงด้วยเสาคอนกรีต โดย ไม่ต้องใช้คาน flat slab สามารถออกแบบได้ทั้งเป็นพื้นด้านเดียว และสองด้าน โดยที่ flat slab จะรับภาระload ไปที่เสารองรับและพื้นสี่เหลี่ยมที่เรียกว่า ‘drop panels’
drop panelsมีบทบาทสำคัญมาก เนื่องจากช่วยเพิ่มความสามารถโดยรวมและความทนทานของระบบพื้นภายใต้การรับน้ำหนักในแนวตั้ง โดยปกติแล้วความลึกของdrop panels จะอยู่ที่ประมาณสองเท่าของความยาวของแผ่นคอนกรีต
flat slab เหมาะสมสำหรับงานก่อสร้างที่มีพื้นที่กว้าง และง่ายกว่าสำหรับพื้นที่มีมีความสมมาตร เช่น อาคารประเภทสำนักงาน คลังสินค้า โกดัง โรงงาน บ้านขนาดใหญ่ เป็นต้น และโดยส่วนมากจะทำแค่ชั้นที่ 1 เท่านั้น ข้อดีของการใช้ flat slab นั้นมีมากมาย เช่น การแก้ปัญหาด้านความลึกของคาน ช่วยลดต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้าง ลดต้นทุนค่าแรงงาน และระยะเวลาการก่อสร้าง และยังมีประโยชน์สำหรับกระบวนการก่อสร้างทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อลดขั้นตอนการติดตั้งและประหยัดเวลาในการก่อสร้างเมื่อเทียบกับการหล่อคานวางแผ่นพื้น ที่ภาระการรับน้ำหนักที่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น
พื้นรับน้ำหนัก 2ตัน/ตร.ม. การก่อสร้างแบบ flat slab จะมีขั้นตอน 3 ขั้นตอนเพียง 1.การตอกเข็ม 2.วางแผ่นเหล็ก 3.เทพื้นคอนกรีต แต่เมื่อเทียบกับการก่อสร้างแบบคานแล้วจะมีขั้นตอน 6 ขั้นตอนคือ 1. ทำฐานราก 2.ทำแบบหล่อคาน 3. เทคาน(และรอ 14 วัน) 4.วางแผ่นพื้น 5. วางแผ่นเหล็กกันร้าว 6. เทพื้นคอนกรีต และด้วยขั้นตอนที่มากกว่านี้ทำให้ราคาการก่อสร้างแบบคาน on beam มีราคาที่สูงกว่าแบบ flat slab
ในการวางแผนการออกแบบนั้นควรคำนึงถึงประเด็นสำคัญคือ:
- ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ
- โจทย์การรับน้ำหนัก
- ประสบการณ์และฝีมือช่าง
ประเภทของ flat slab
ในทางทฎษฏีมีอยู่มากมายเช่น
- Simple flat slab
- Flat slab with drop panels
- Flat slab with column heads
- Flat slab with both drop panels and column heads
สามารถประยุคใช้งานได้ตั้งแต่อาคารสูงจนถึงอาคารประเภทโกดัง โรงงาน แต่วันนี้เราจะเน้นที่ Flat slab with drop panels
Flat slab with drop panels
flat slab ประเภทนี้เป็นการออกแบบให้แผ่นพื้นคอนกรีตทำงานร่วมกับ drop panels โดยหน้าที่หลักของ drop panel คือการกันการทะลุเมื่อแผ่นพื้นรับแรงมากเกินไป
โดยทั่วไปแล้ว flat slab จะมีความหนาของพื้นอยู่แค่ 15-20 ซม.เท่านั้น รับน้ำหนักกระจายแรงโดยใช้เสาเข็ม และเมื่อโจทย์ในการรับน้ำหนักมาก ในบางครั้งอาจมากกว่า 10 ตัน/ตร.ม. วิศวกรจึงต้องเพิ่มความหนาของพื้นเข้าไป แต่เพิ่มเฉพาะตำแหน่งหัวเสาเข็มเท่านั้น และจากการกระทำนี้ทำให้การออกแบบและก่อสร้างแบบ flat slab จึงมีราคาที่ถูกสำหรับงานพื้นรับน้ำหนักสูง
ข้อดีของ Flat slab
- ทำงานได้เร็วกว่า
- มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า
- รับน้ำหนักได้มาก
- การออกแบบไม่ซับซ้อน
ข้อเสียของ Flat slab
- ผู้ออกแบบต้องมีความรู้เฉพาะทาง
- การก่อสร้างต้องแม่นยำสูง ห้ามใช้การดึงระยะจากอุปกรณ์ทั่วไป
- ช่างตำมีความชำนาญการสูง
สรุป
flat slab ประเภท drop panels เหมาะสมกับการก่อสร้างประเภทพื้นรับหนักสูง เช่น อาคารประเภท โกดัง โรงงาน สำนักงาน ออฟฟิศ มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับพื้นวางบนคาน และใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างที่น้อยกว่า
link การออกแบบเบื่องต้นของ flat slab
: https://www.colincaprani.com/files/notes/Flat%20Slabs.pdf
แหล่งที่มา :
ติดต่อเรา:
หากคุณกำลังมองหาบริษัทรับเหมาก่อสร้างออฟฟิศพร้อมโกดังในกรุงเทพที่ไว้ใจได้ อีซี่แวร์เฮ้าส์คือตัวเลือกที่ใช่สำหรับคุณ ติดต่อเราวันนี้เพื่อรับคำปรึกษาฟรี
เว็บไซต์: www.easywarehouse-thailand.com
โทรศัพท์: [088-888-9944]
อีเมล: [info.easywarehouse@gmail.com]
#โกดัง #ออฟฟิศพร้อมโกดัง #โกดังราคาถูก #โกดังสวย #โกดังทันสมัย #โกดังใช้งานได้จริง #โกดังเก็บของ #คลังสินค้า #ออฟฟิศ #โรงงาน #พื้นที่สำหรับงานอดิเรก
[breadcrumb]